วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย



ความหมายของคำว่า "ความรุนแรง"
     
โดยทั่วๆ ไป ความรุนแรงก็คือการทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะเกิดจากธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือจากน้ำมือมนุษย์ก็ได้ ส่วนในอีกความหมายหนึ่ง ความรุนแรงคือสิ่งที่มาสกัดกั้นศักยภาพของชีวิต สมมุติว่ามีหญิงสาวคนหนึ่งเดินกลับบ้าน ระหว่างทางมีผู้ร้ายดักชิงทรัพย์แล้วฆ่า ก็หมายความว่าหากไม่เกิดเหตุความรุนแรงนี้ หญิงสาวคนนั้นก็จะยังมีศักยภาพในการดำเนินชีวิตได้ต่อไป
     นอกจากความรุนแรงจะสกัดกั้นศักยภาพชีวิตอย่างที่มันเป็นอยู่ (หากหญิงสาวผู้นั้นไม่ถูกฆ่า เธอก็ยังคงไปทำงานได้ตามปกติ) แล้ว ความรุนแรงยังสกัดกั้นศักยภาพชีวิตในอีกแง่หนึ่งด้วย กล่าวคือศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่เดิม เช่น สมมุติหญิงสาวคนนั้นกำลังจะเรียนต่อและเธอรอดตายอย่างปาฏิหาริย์แต่กลายเป็น เจ้าหญิงนิทรา ศักยภาพด้านการศึกษาของเธอที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ถูกสกัดจนต้องสะดุดหยุดลง
ความรุนแรง ความขัดแย้งและอำนาจ
     คน ส่วนใหญ่มักคิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องเดียวกับความขัดแย้งและอำนาจ แต่ในความเข้าใจของผม ความรุนแรงไม่ใช่อำนาจ ไม่ใช่ความขัดแย้ง แต่เป็นจุดจบของสิ่งเหล่านั้น
     ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อผู้คนที่มาอยู่ร่วมกันในสังคมมีความปรารถนาที่แตกต่างกัน ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งได้เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งบางครั้งมนุษย์เลือกใช้ความรุนแรงมายุติความขัดแย้ง เป็นเหตุให้เกิดความคิดว่าความรุนแรงคือความขัดแย้ง หรือหนักกว่านั้นคือเกิดความเข้าใจว่าความรุนแรงเป็นเรื่องธรรมชาติไปด้วย ผมจึงอยากชี้ให้เห็นความแตกต่างที่สำคัญว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ความรุนแรงไม่ใช่ เพราะความขัดแย้งอาจคลี่คลายลงด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช้ความรุนแรงได้
     ในทำนองเดียวกัน ความรุนแรงก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกับอำนาจ หากอำนาจหมายถึงความสามารถที่จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งทำตามความต้องการของเราได้ อำนาจก็ไม่จำเป็นต้องได้มาจากความรุนแรง เช่น ความรักก็เป็นพลังอำนาจแบบหนึ่ง เป็นแรงผลักดันที่จะทำให้เรายอมเสียสละบางอย่างเพื่อคนที่เรารัก (ดูได้จากเวลาที่สังคมต้องการให้เราทำอะไรสักอย่าง ก็มักอ้างในนามของความรักต่อ... เพราะเชื่อว่าจะนำไปสู่สิ่งที่ต้องการได้ เป็นต้น)
     ผมคิดว่าความรุนแรงเป็นจุดจบของอำนาจเสียด้วยซ้ำ เพราะการต้องใช้ความรุนแรงบังคับนั้นมักหมายความว่าเราไม่มีอำนาจ (หมดความสามารถที่จะทำให้อีกฝ่ายทำตามความต้องการของเราได้) แล้ว



ฐานคิด เรื่องความรุนแรง
เพื่อทำความเข้าใจฐานคิดเรื่องความรุนแรง ผมจะอธิบายโดยอาศัยตัวแบบในทางภาษาซึ่ง
ประกอบด้วยประธาน กริยาและกรรม เช่น นาย ก. ฆ่านางสาว ข. สามารถแยกได้ ตามตัวแบบคือ นาย
. เป็นประธาน ฆ่าเป็นกริยา และกรรมคือนางสาว ข. คำถามต่อไปก็คือ
1) ประธานมีหรือเป็นอะไรได้บ้าง
2) กริยาของความรุนแรงทำงานอย่างไร
3) ตัวกรรมนั้นได้รับผลอะไรได้ 


ความรุนแรงในสังคมไทย
        
การกระทำรุนแรงในสังคมไทยเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุต่าง ๆ กัน ความรุนแรงบางอย่างเป็นผลมาจากความคิดความเชื่อของคนในสังคมที่กระทำระหว่าง กัน บางอย่างเกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติของคนในสังคม บางอย่างเป็นความรุนแรงที่กระทำระหว่างคนใกล้ชิด และบางอย่างเป็นภัยทางสังคมซึ่งพบเห็นได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน
        
การกระทำรุนแรงอันเกิดจากความคิดความเชื่อของคนในสังคม เป็นสิ่งละเอียดอ่อน บางอย่างแฝงมากับความเชื่อในรูปแบบของค่านิยม หรือสืบทอดผ่านทางวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละสังคม จนเกิดการยอมรับ และมักมองข้ามลักษณะความรุนแรงที่ปรากฏ เช่น การนิยมเจาะหูให้แก่ลูกผู้หญิง การนิยมมีรอยสักแก่ผิวหนังของตนเอง สิ่งเหล่านี้ในสังคมมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ทั้ง  ที่เป็นความรุนแรงที่กระทำขึ้นระหว่างแม่ต่อลูกหรือกระทำกับตนเอง
        
การกระทำรุนแรงระหว่างกันตามความเชื่อของไทยโดยทั่วไปแม้จะไม่ รุนแรงถึงขนาดทุบตีและยิงทิ้งกันต่อหน้าต่อตาผู้อื่นอันเนื่องมาจากการ ฝ่าฝืนกฎ หรือลวงมาฆ่าหมู่อย่างลัทธิบางลัทธิในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก แต่ความเชื่อบางอย่างในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยก็มีลักษณะการกระทำรุนแรงจากผลของความเชื่อมิใช่น้อย ในอดีตเวลาก่อสร้างเจดีย์หรือพระธาตุบางแห่งต้องฝังคนเป็น ๆ ข้างใต้แท่นฐาน หรือบางแห่งมีวิธีการรักษาคนเป็นโรคจิตด้วยด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์ มีการไล่ผีให้ออกจากตัวโดยการเฆี่ยนตีหรือราดด้วยน้ำร้อน บางแห่งมีพิธีเลี้ยงผีอารักษ์เมืองและมีการฆ่าสัตว์สังเวยแสดงความรุนแรง หรือตัวอย่างการขับไล่ผู้สงสัยว่าเป็นผีปอบไปอยู่นอกเมืองหรือที่ห่างไกลผู้ คน ใช้วิธีการที่รุนแรง เช่น ขว้างปา รุมทำร้าย หรือรื้อถอนบ้าน ซึ่งเกิดผลร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้งร่างกายและจิตใจ
        
การกระทำรุนแรงที่เกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติ การกระทำรุนแรงเช่นนี้มักเกิดจากคนที่มีจิตใจไม่ปกติซึ่งปะปนอยู่ในสังคม มีทั้งที่เราสังเกตเห็นและไม่เห็น ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของภาวะจิตใจ เช่น คนเป็นโรคจิตประเภทคลั่งสลับซึม ที่ก่อเหตุทำร้ายแก่คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวจนเป็นข่าวให้เห็นอยู่เสมอ คนที่คับข้องใจและแสดงความก้าวร้าวต่อภาวะคับข้องใจด้วยการกระทำรุนแรงต่อตน เองโดยการฆ่าตัวตายในสังคมไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลที่ศึกษาพบว่าคนไทยใช้วิธีฆ่าตัวตายโดยการกินยามากถึง 70 % รองลงมาคือแทงตัวเอง กระโดดจากที่สูง ยิงตัวตายและผูกคอตาย นอกจากนั้นยังมีการกระทำรุนแรงอันเกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติให้เห็นอีกมาก มาย เช่น คนเป็นเอดส์แพร่เชื้อโดยใช้เข็มวิ่งไล่แทงคนอื่น คนวิปริตทางเพศโชว์อวัยวะเพศต่อหน้าดาราที่ตนคลั่งไคล้จนเกิดความหวาดกลัว เป็นต้น
        
การกระทำรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างคนใกล้ชิด ปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขั้นส่วนใหญ่จะเกิดในครอบครัว โรงเรียน หรือชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกัน ลักษณะความรุนแรงมีตั้งแต่ดุด่าด้วยถ้อยคำ ลงโทษด้วยวิธีการแปลก ๆ ทำร้ายร่างกาย และคุกคามทางเพศ ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กและผู้หญิง


รูปแบบความรุนแรงแบบ physiology
ในแบบ physiology หรือว่าการทำให้ร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกตินั้น ก็สามารถทำได ้หลายวิธี ที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้เป็นความรุนแรงที่แทบจะมองไม่เห็นเลย ได แก่ การไม่ให้อาหาร เช่น การสร้างเขื่อนของประเทศจีนทำให้สามารถควบคุมการไหลของแม่น้ำโขง ส่งผลต่อการมีหรือไม่มีน้ำใช้ในประเทศแถบลุ่มน้ำโขง
ตอนล่างทั้งหมด หรือการทำให้เป็นพิษ เช่นโรงงานน้ำตาลปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ) การทำให้อากาศเสีย (เช่น การที่อุตสาหกรรมที่แม่เมาะปล่อยควันพิษจนทำให้ชาวบ้านมีปริมาณตะกั่วในปอดสะสมมากผิดปกติ) เช่น การขายยาด้วยราคาสูงเกินกว่าที่จะซื้อหามารักษา หรือการที่อเมริกาแซงก์ชั่นอิรักด้วยการไม่ให้ยาที่ส่งผลให้เด็กที่ป่วยใน อิรักล้มตายจำนวนมาก
สถานการณ์การกระทำรุนแรง
        
จากการศึกษาวิจัยได้พบข้อมูลของการกระทำรุนแรงระหว่างคนใกล้ชิดที่ น่าสนใจหลายประการ เช่น การข่มขืนผู้หญิงส่วนใหญ่เกิดกับวัยผู้ใหญ่คืออายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงเวลา 18.00 – 24.00 น. ส่วนใหญ่เกิดเหตุในโรงแรมและเป็นการกระทำของญาติหรือเพื่อนสนิท โดยมักมีการดื่มสุราก่อนก่อเหตุเสมอ สำหรับการละเมิดทางเพศในโรงเรียน เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ไม่อบอุ่นหรือแตกแยก และครอบครัวใหม่ไม่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน โดยทางโรงเรียนไม่มีกฎระเบียบและวิธีการจัดการเรียนการสอนหรือมีความร่วมมือ กับผู้ปกครองในการป้องกันปัญหา แม้แต่ในครอบครัวเองก็เกิดความรุนแรงในการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะได้รับการเลี้ยงดูด้วยวิธีการที่รุนแรงในด้านจิตใจและร่างกาย ที่น่าสนใจคือผลการวิจัยพบว่าเกิดการรับรู้ที่ต่างกันระหว่างเด็กกับผู้ ปกครอง กล่าวคือเด็กจะรับรู้ว่าถูกเลี้ยงดูด้วยวิธีการรุนแรงมากกว่าผู้ปกครองที่ รับรู้ว่าได้กระทำรุนแรงกับเด็ก และผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวจะถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจมากที่สุด รองลงมาคือทางเพศและทางร่างกาย ส่วนใหญ่ถูกกระทำโดยสามี



        ความ รุนแรงที่เกิดจากภัยทางสังคม เป็นความรุนแรงที่พบเห็นได้บ่อยมากตามข่าวของสื่อมวลชน เป็นการกระทำรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าล้างแค้น ล่วงละเมิดทางเพศและการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่สรุปไว้ในปี 2544 ระบุว่าช่วงที่ผ่านมาการทำร้ายร่างกายมีอัตราเพิ่มขึ้น การข่มขืนอยู่ในจำนวนคงที่ ส่วนการใช้แรงงานเด็กมีแนวโน้มลดลงแต่เพิ่มขึ้นในบางภูมิภาค เช่น ภาคใต้ สำหรับเด็กและเยาวชนที่ถูกจับกุมส่งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนนั้น เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพของความรุนแรงในสังคมที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่น กัน
        
การคุกคามทางเพศเป็นภัยทางสังคมอีกรูปแบบหนึ่ง จากผลการวิจัยพบว่าการคุกคามทางเพศมักเกิดในที่สาธารณะ พบมากที่สุดคือการเกี้ยวพาราสีจากคนแปลกหน้าในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นการคุกคามที่เกิดความรำคาญและหวาดกลัวอันมีผลร้ายต่อจิตใจ นอกจากนั้นการคุกคามทางเพศในที่สาธารณะเช่น ป้ายรถเมล์ ถนนหนทาง ในช่วงนอกเวลาทำงานโดยคนไม่รู้จักก็มักจะเกิดขึ้นทั้งกับเพศหญิงและชาย โดยปัจจัยที่จะทำให้ถูกคุมคามทางเพศมากที่สุดคือความสวยความหล่อของหน้าตา และเรือนร่างหรือสัดส่วน การกระทำก็ตั้งแต่เอาอวัยวะเพศมาเสียดสีเพื่อสำเร็จความใคร่ จนถึงการลวนลามโดยใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งถือว่าเป็นการกระทำรุนแรงของภัยทาง สังคมที่น่ากลัว



ต้นเหตุของการใช้ความรุนแรงที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป
สามารถวิเคราะห์ได้จาก 3 ปัจจัยหลักดังนี้
1. ความเชื่อ ผู้ใช้ความรุนแรงมักจะมีความเชื่อที่ผิด ๆ ว่า
-
การทุบตีด่าว่าเป็นสิ่งที่ทำได้
-
การใช้ความรุนแรงเป็นวิธีการแก้ไขปัญหา
-
ความรุนแรงควบคุมอีกฝ่ายหนึ่งได้
-
ผู้มีอำนาจมีสิทธิทำอะไรก็ได้กับผู้ที่ด้อยกว่า
-
สามีเป็นใหญ่  ลูก ภรรยาคือผู้อ่อนแอ เป็นสมบัติของสามี หรือบิดามารดา
-
ความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว มิใช่ประเด็นสาธารณะ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ความรุนแรงและผู้ถูกกระทำ
- ครอบ ครัวแบบสามีหรือบิดาเป็นใหญ่  สามีมีอำนาจเหนือภรรยาทั้งทางพละกำลัง  รายได้  การศึกษา  สามีใช้อำนาจในทางที่ผิดมาข่มเหงภรรยา  เรียกว่า สามีต้องเป็นช้างเท้าหน้า  ต้องเป็นผู้นำ ภรรยาต้องเป็นช้างเท้าหลัง  เป็นผู้ตาม ต้องเชื่อฟัง
-
ครอบครัวที่สามีด้อยอำนาจ  ทำให้สามีเกิดปมด้อยจะข่มภรรยาเพื่อสร้างปมเด่น
-
ความเชื่อว่าสามีเป็นเจ้าของภรรยา
-
ความขัดแยังไม่ลงตัวในชีวิตแต่งงาน
-
การขาดความรู้ในการดำเนินชีวิตคู่
-
การไม่จดทะเบียนสมรส  ฝ่ายหญิงย้ายไปอยู่กับฝ่ายชาย
3. ลักษณะส่วนตัวของผู้กระทำความรุนแรง
- เป็นกมลสันดาน  ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก  เลียนแบบบิดามารดาที่ชอบใช้ความรุนแรงได้แบบอย่างจากหนังสือ  โทรทัศน์  ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนในเรื่องรับผิดชอบชั่วดี   มาจากครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น
-
เป็นการเรียนรู้ว่า  หากทำแล้วได้ผล  ไม่มีใครว่า  จะทำซ้ำและรุนแรงขึ้น
-
เครียด และระบายออกโดยใช้ความรุนแรงกับคนอื่นที่ด้อยอำนาจกว่า บางครั้งดื่มสุราเพื่อให้กล้าแสดงความรุนแรงออกมา  และโทษว่าเป็นความผิดของสุรา บุคคลประเภทนี้มักจะไม่กล้ากระทำกับคนที่มีอำนาจมากกว่า  จะสุภาพนอบน้อมกับคนอื่น
-
เจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างที่ทำให้ควบคุมตนเองไม่ได้ เช่น โรคสมอง

 
ชี วิ
ภญ. จินดา หวังวรวงศ์
thesamechan@hotmail.com
ในสมุดบันทึกเล่ม

อะไรคือความรุนแรงในสังคม
ผู้เขียนขอให้คำจำกัดความของคำว่าความรุนแรงในสังคม ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจาก
การกระทำของมนุษย์ที่กระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน ต่อสัตว์ ต่อธรรมชาติ อย่างไม่ถูกต้อง
ตามหลักศีลธรรมที่สังคมมนุษย์ยอมรับและยึดถือว่าเป็นความดีความงามของชีวิต
ทำให้มนุษย์ต้องอยู่ในภาวะที่บีบคั้นกดดันทางอารมณ์และเกิดความทุกข์ทางกายและ
ใจ
การที่ใครคนหนึ่งจะมองเห็นว่า การกระทำใดเป็นความรุนแรง คงต้องขึ้นกับว่า
คน นั้นเรียนรู้ชีวิตมาอย่างไร อยู่ในสังคมที่มีปรัชญา ความเชื่อ ความนึกคิดที่สร้าง
และสืบทอดกันมาเป็นอย่างไร และคน นั้นมีความละเอียดอ่อนของจิตใจเพียงใด
ดูเหมือนไม่น่ามีปัญหาใด หากสังคมแต่ละกลุ่มหรือคนแต่ละคนมองความ
รุนแรงต่างกัน เพราะทุกคนย่อมมีสิทธิในการเลือกการดำรงชีวิต การคิด การเชื่อ แต่ใน
ความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมหนึ่งย่อมส่งผลสะเทือนถึงสังคมอื่น อย่าง
ต่อเนื่องเชื่อมโยง หรือเมื่อมองภายในแต่ละสังคมเอง สิ่งที่เกิดขึ้นกับคนหนึ่งย่อม
ส่งผลถึงคนอื่นด้วย หากผู้หนึ่งส่งความรุนแรงของจิตใจออกไป ย่อมกระทบถึงคน
รอบข้าง ซึ่งหากผู้รับไม่เข้มแข็งพอหรือไม่มีปัญญาพอ ก็จะเรียนรู้ที่จะมีความรุนแรง
ด้วย และส่งผ่านไปถึงบุคคลอื่น ต่อ ตัวอย่างเช่น แม่ที่ก้าวร้าว ดุด่าลูกด้วยคำหยาบ-
คายเป็นประจำ ลูกจะเรียนรู้และเข้าใจผิดว่าชีวิตต้องหยาบคายรุนแรงเช่นนี้ แล้วนำไป
ปฏิบัติกับผู้อื่นต่อเนื่อง สังคมของเราก็จะมีแต่การพูดจาที่หยาบคายรุนแรง แล้วเราจะมีความสงบสุขได้หรือตัวอย่างความรุนแรง
ผู้เขียนขอกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนมองว่าเป็นความรุนแรงของสังคม เริ่มต้น
จากความรุนแรงที่มองเห็นได้ชัดเจน คือ การใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นเพื่อแสดงอำนาจ
เพื่อบีบบังคับให้ยอมจำนน เช่น การทำร้ายและฆ่าผู้คนในปัญหาความไม่สงบใน
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือสงครามระหว่าง ประเทศ เผ่าพันธุ์ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ตลอดมา ผู้ก่อเหตุไม่เชื่อในสันติวิธี แต่เชื่อว่า จะชนะด้วยการต่อสู้ รบรา
และฆ่าฟัน ซึ่งผู้เขียนมองว่า แม้ได้รับชัยชนะจาก
การสู้รบ ได้ยึดครองสิ่งที่ต้องการแล้ว แต่จะเรียก
ว่าได้ชัยชนะที่แท้จริงได้อย่างไร ในเมื่อต้องครอบ-ครองอยู่บนความสูญเสีย ความเจ็บปวด ความอาฆาตพยาบาท ความเกลียดชัง ความเป็นศัตรู ซึ่งเป็นความรุนแรงทั้งสิ้น สังคมมนุษย์น่าจะมีพัฒนาการเรื่องการตกลงผลประโยชน์กันด้วยสันติวิธี มากกว่าการใช้
กำลังรุกรานเพื่อบีบบังคับกันได้แล้ว เพราะสังคม50 ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
มนุษย์เดินทางมาไกลจากจุดที่เป็นมนุษย์ถ้ำ มนุษย์หิน มากแล้วความรุนแรงในลักษณะข้างต้นนี้ ผู้เขียนหมายความรวมถึงความรุนแรงที่เกิดในระดับปัจเจกบุคคล ที่ทำร้าย
ผู้อื่นเพียงเพราะไม่ได้ดังใจต้องการ ทั้งในเรื่องความรัก การงานผลประโยชน์ ที่เราพบเห็นทุกวัน ตัวอย่างหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ผู้หญิงร้านคาราโอเกะปฏิเสธการนั่งคุยกับตำรวจนายหนึ่ง
ทำให้ตำรวจนายนั้นโกรธมาก ขี่รถไล่ตามหญิงสาว แล้วใช้มีฟันที่แขนจนแขนขาด หรือการที่แพทย์อย่างน้อย 2 คนที่เป็นข่าวฆ่าภรรยาของตัวเอง เพียงเพราะอยากให้เธอออกจากชีวิต
ของตนเอง เวลาได้ยินข่าวแบบนี้ ได้แต่แปลกใจว่า เขาเหล่านั้นทำได้อย่างไร ความรุนแรงระดับนี้ซ่อนอยู่ในจิตใจของผู้คนที่ดูภายนอกเหมือนคนปกติทั่วไปได้อย่างไร ยังมีอีกกี่คนที่รอเวลาแสดงความรุนแรงออกมาความรุนแรงอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ผู้เขียนมองว่าเป็นความรุนแรง
ที่กระจายอยู่ในสังคม ซึ่งอาจมองเห็นไม่ชัดเจนว่าเป็นความรุนแรง แต่มีผลเป็นคลื่นใต้น้ำที่น่ากลัวมาก ได้แก่ ความเท็จ-ความลวงในสังคม เช่น การที่ผู้คนทำร้ายกันด้วยวาจาทั้งต่อ-
หน้าและลับหลัง พูดปดเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง การเอา-เปรียบผู้อื่น การขาดจริยธรรมในการทำงานและการดำรงชีวิตบริหารงานอย่างไม่เป็นธรรม ข้าราชการใช้อำนาจข่มขู่ประชาชนด้วยคำพูด การกระทำ ใช้ระเบียบบีบบังคับประชาชนให้ยอมจำนน แล้วเรียกผลประโยชน์ส่วนตน หรือการที่หัวขโมยสังคมมนุษย์น่าจะมีพัฒนาการเรื่องการตกลงผลประโยชน์กันด้วยสันติวิธี มากกว่าการใช้กำลังรุกรานเพื่อบีบบังคับกันได้แล้วเ สัง คมมนุษย์เดินทางมาไกลจากจุดที่เป็นมนุษย์ถ้ำ มนุษย์-หินมากแล้ว/กันยายน - ตุลาคม 2551 51สมัยนี้ขโมยแม้แต่น็อตของเสาไฟฟ้า สายโทรศัพท์สายไฟฟ้า ซึ่งเป็นของสาธารณประโยชน์ ไม่สนใจว่าคนส่วนใหญ่จะเดือดร้อน จัดว่าเป็นโจรที่ไร้มาตรฐานของวิชาชีพ การกระทำที่ไม่คำนึงถึงความเสีย-หายต่อส่วนรวม เป็นความรุนแรงที่น่ากลัวมากเมื่อปี 2550 มีข่าวจากประเทศจีน กล่าวถึงเมนู-อาหารแบบเปิบพิสดารที่ได้รางวัลระดับโลก เห็นภาพข่าวแล้วชวนขยะแขยงและประหลาดใจ มีตั้งแต่ซุปจระเข้ หัว-ลูกจระเข้ และน่าตกใจ คือ เมนูปลาคาร์พตัวเป็น ถูกราดด้วยซอสสีแดงร้อนจัดดิ้นอยู่บนจาน หนุ่มสาวชาวจีน
ล้อมวงกินกันด้วยอารมณ์ที่เบิกบานยิ้มแย้ม รายการอาหารเปิบพิสดารเป็นเรื่องที่เราได้ยินกันมานานแล้ว เช่นอุ้งตีนหมี สมองลิงซึ่งเสิร์ฟในลักษณะที่มีศีรษะลิงเปิดกระหม่อมตั้งอยู่บนจานทั้งหัว มีใบหน้าครบถ้วน ลืมตาแป๋ว อาหารแบบนี้ สังคมส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าเป็น
อาหารพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต แต่ผู้กินอาหารกลุ่มนี้
แสวงหามากินเพียงตอบสนองความเชื่อความชอบส่วนตัวที่มากเกินความจำเป็น นี่เป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง ความอ่อนโยน ความเมตตาในจิตใจหาย

              ความรุนแรงในครอบครัว
การทำร้าย ทุบเฆี่ยนตีภรรยา   (Wife Battering)
               การทำร้าย  ทุบเฆี่ยนตีภรรยา  เกิดขึ้นได้ทุกชนชั้นในสังคม (Lenore E. Walker) สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสมาชิกครอบครัว (Steinmetz, 1977)  ทำให้เกิดข้อขัดแย้งและการพิพาทในครอบครัว  ถ้าปล่อยทิ้งให้เป็นความขัดแย้งที่เรื้อรังไม่ได้ขจัดแก้ไข    ผลสุดท้ายจะเกิดภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ นักวิชาการหลายท่านแสดงความคิดเห็นว่า ความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากการใช้อำนาจอาวุโสระหว่างเพศ  เช่น  Goode (1971)  และ O'Brien  (1971)    ได้เสนอว่าสามีที่ไม่ประสบความสำเร็จทางสังคมในหน้าที่การงาน มักจะแสดงความวิตกกังวลหงุดหงิดไปสู่ภรรยา Goode (1971)ได้สรุปว่ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นเมื่อสามีไม่สามารถมีสถานภาพทางสังคม ประสบความล้มเหลวต่อการมีอำนาจนอกบ้าน  ไม่สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อนำมาสนับสนุนการมีอำนาจในบ้าน  ประเด็นเหล่านี้ ต้องทำการศึกษาต่อไปอีก  โดยจะต้องนำปัจจัยอื่นมาทำการศึกษา  เช่น  กระบวนการขัดเกลาทางสังคม ปัจจัยทางจิตวิทยาปัจจัยความกดดันทางสังคม  เช่น  ปัญหาการว่างงาน ปัญหาด้านการเงิน และปัญหาด้านสุขภาพ
การกระทำทารุณต่อเด็ก  (Child Abuse)
             
การกระทำทารุณต่อเด็ก  เกิดขึ้นได้หลายสถานการณ์ตั้งแต่เรื่องความขัดสนด้อยโอกาส  ขาดแคลนความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต  ด้านอาหาร  เสื้อผ้า  ที่อยู่อาศัย  ไปจนถึงเรื่องการขาดความรัก  ความอบอุ่นในครอบครัว  การกระทำทารุณทางร่างกาย  ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว  นำไปเร่ขาย  ทอดทิ้งให้อดอยากหิวโหย  ต้องเร่ร่อนและการฆาตกรรมเด็กตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์  การฆ่าทิ้งถ้าพบเป็นเพศหญิง  และการทำแท้งจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  บางประเทศที่อยู่ระหว่างการทำสงครามจะให้เด็กจับอาวุธ ทำหน้าที่เป็นทหาร  และเด็กต้องตกเป็นเหยื่อจากการสู้รบตั้งแต่อายุระหว่าง  7 - 8  ขวบ    การกระทำทารุณต่อเด็กที่นักวิชาการหลายท่านได้สรุปสาเหตุ   เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  สังคมเกิดภาวะไร้ระเบียบวินัย  รวมทั้งการเกิดสภาพความเป็นเมือง  (Urbanization)  ทำให้สังคมละทิ้งคุณค่าทางวัฒนธรรม  และการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวล้มเหลว  ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำทารุณต่อเด็กยิ่งขึ้น
ความเข้าใจเกี่ยวกับครอบครัวศึกษา (Family Studies)                     
            
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับครอบครัว หรือครอบครัวศึกษา  ได้มีนักวิชาการใช้ทฤษฎีศึกษาหลายทฤษฎีโดยเฉพาะทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่  เช่น ศึกษาครอบครัวด้านการหย่าร้างและปัญหาต่างๆ ของครอบครัว  ปัจจุบัน  นักวิชาการได้ใช้ทฤษฎีกระบวนการครอบครัว (family process)  เข้ามาศึกษาโดยเน้นพัฒนาการมนุษย์ในระบบนิเวศวิทยา  (Bronfenbrenner, 1979)โดยเสนอว่าบุคคลและสุขภาพครอบครัวเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนที่ต้องทำการศึกษาในเชิงความรู้สึกนึกคิดและสภาพแวดล้อม
             
ในที่นี้จะเสนอการศึกษาด้านสุขภาพครอบครัว และความบกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครองครัว  หมายถึง การศึกษาครอบครัวจะทำหน้าที่อย่างไรให้ดีที่สุดตามที่ครอบครัวมุ่งหวัง  และความหมายของสุขภาพครอบครัว คือ ครอบครัวประสบความสำเร็จต่อการปฏิบัติหน้าที่และบรรลุเป้าหมายตามที่มุ่งหวังไว้
            
ครอบครัวที่มีสุขภาพที่ดีจะต้องประกอบด้วย  คุณลักษณะสำคัญ  6  ประการ  แต่มิได้หมายความว่าครอบครัวสุขภาพดีจะต้องมีครบองค์ประกอบทั้ง  6  ประการ
                1. 
ทำความตกลงแหล่งการใช้อำนาจภายในครอบครัว
                2. 
กำหนดกติกาและทำการตัดสินใจในการใช้กติกาอย่างมั่นคง
                3. 
แสดงพฤติกรรมเชิงแลกเปลี่ยนความเอื้ออาทรในการพิทักษ์คุ้มครองซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ
                4. 
ทำการเลี้ยงดูผู้เยาว์และเด็ก  และรักษาสถานภาพชีวิตสมรสอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคง
                5. 
ทำการกำหนดเป้าหมายของครอบครัวที่สมาชิกแต่ละคนมีส่วนร่วม
                6. 
มีความยืดหยุ่นและการปรับตัวยอมรับพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างปกติ และรวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด
แนวทางการป้องกันการใช้ความรุนแรงของบเด็กและสตรี
สาเหตุของปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี มีความแตกต่างจากความรุนแรงในเรื่องอื่น เนื่องจากมีค่านิยมและเจตคติของสังคมในเรื่องบทบาทหญิงชายเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยการให้ความสำคัญและคาดหวังเพศชายในฐานะผู้นำผู้ตัดสินใจ ผู้สืบทอดเชื้อสายทางครอบครัว เพราะเพศชายมีร่างกายที่แข็งแรงกว่า สามารถปกป้องผู้อ่อนแอทางร่างกาย คือ เด็กและผู้หญิงได้ จะเห็นได้ชัดเจนในกรณีความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งมาจากความเชื่อที่สังคมมีมาแต่ดั้งเดิมเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียม ระหว่างหญิงชาย เช่น แนวคิดที่ว่าภรรยาเป็นสมบัติของสามี ลูกเป็นสมบัติของพ่อแม่ ผู้ชายมีอำนาจเหนือสตรี สตรีเป็นวัตถุทางเพศ ผู้ชายจึงมีฐานะเป็นผู้ดูแลคุ้มครองเด็กและสตรี แต่ขณะเดียวกันก็มีสิทธิที่จะใช้อำนาจบังคับ ควบคุมหรือแม้แต่ทำร้ายร่างกาย จิตใจได้ ทั้งนี้ ความเชื่อดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่เกือบทุกสังคมทั่วโลก รวมทั้งสังคมไทย
    
สรุปได้ว่าสาเหตุของความรุนแรงเกิดจากปัญหาในระดับและมิติต่าง ๆ ได้แก่
    
๑. จารีตประเพณี
     แต่ดั้งเดิมยกให้ชายมีอำนาจเหนือหญิงในความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส สามีจึงมีอำนาจเหนือภรรยาและบุตร ที่ต้องการทั้งการปกป้องคุ้มครองและการควบคุมการใช้ความรุนแรงของชายจึงเป็น เครื่องมือในการรักษาอำนาจที่เหนือกว่า ซึ่งสตรีส่วนใหญ่ก็ยอมรับสถานะภาพที่ด้อยกว่า ผู้ชายซึ่งในครอบครัวและอาณาเขตต่าง ๆ ในสังคมจารีตประเพณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าสังคมโดยส่วนรวมยังยอมรับความ ไม่เท่าเทียมของหญิงและชาย ซึ่งนำไปสู่การที่สังคมยังไม่ตระหนักว่า ความรุนแรงต่อสตรีเป็นปัญหาสำคัญ แต่เป็นเพียงปัญหาภายในครอบครัวที่บุคคลภายนอกไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
    

 ๒. โครงสร้างทางสังคม
     เนื่องจากสังคมในปัจจุบันยังคิดว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว ที่บุคคลภายนอกไม่สมควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว การเข้าไปยุ่งเกี่ยวอาจจะเป็นการยุยงให้ครอบครัวแตกแยก ดังนั้น จะเห็นว่าผู้ที่กระทำความรุนแรงมิได้รับการแทรกแซง หรือห้ามปรามอย่างจริงจังจากบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมครัวเรือน เพื่อนบ้าน ประชาชนในชุมชนที่อยู่อาศัย สาธารณชน ผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ นอกจากนั้นปัญหาทางเศรษฐกิจ สภาวะว่างงาน ความล้มเหลวในทางอาชีพการงาน ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์ คับข้องใจ ท้อแท้ สิ้นหวัง นำไปสู่การกระทำความรุนแรงต่อคนในครอบครัว โดยเฉพาะคนที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพาจนกระทั่งถึงขั้นกระทำการฆาตกรรม ทำร้ายคนในครอบครัว รวมทั้งการทำร้ายตนเองด้วย
    
๓. โครงสร้างทางการเมือง การบริหาร และกฎหมาย
     ยังมีปัจจัยหลายประการที่เป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อสตรี ทั้งในด้านตัวบทกฎหมายและในด้านการบังคับใช้กฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ กำหนดว่า ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันถึงสี่หมื่นบาทซึ่งหมายความว่า สามีข่มขืนภริยาของตนจะไม่มีความผิดตามมาตรานี้ แต่อาจจะมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ ซึ่งในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและการพิจารณาคดี ผู้รักษากฎหมายมักใช้วิธีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม แทนการดำเนินการตามกฎหมายหรือภริยาผู้ถูกกระทำความรุนแรงก็มักเก็บเงียบไม่ ขอความช่วยเหลือ หรือดำเนินการตามกฎหมาย เนื่องจากกระบวนการสอบสวนและการพิจารณาทำให้ต้องอับอายและตกเป็นข่าวหรือแม้ กระทั่งถูกสังคมประณามว่าเป็นฝ่ายผิดเสียเอง
    
๔. ปัญหาทางด้านสภาวะทางกายและทางจิต
     ซึ่งได้แก่ ความเจ็บป่วยทางจิต เช่น ลักษณะนิสัยเฉพาะตัวของผู้กระทำผิดที่เป็นคนอ่อนแอ มีความบกพร่องในบทบาททางเพศ มีความผิดปกติทางจิต มีความกดดันความคับข้องใจ หรือตกอยู่ในภาวะกดดันหรือตึงเครียดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและมีรายได้น้อย สภาพที่อยู่อาศัยไม่ดี แออัด และความโดดเดี่ยวทางสังคม ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวังในชีวิต มีภาวะตึงเครียด ซึ่งอาจเป็นแรงผลักดันให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ รวมถึงความไม่พร้อมที่จะมีครอบครัว ส่งผลให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวได้เช่นกัน
    
๕. การกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก
     สภาพแวดล้อมในสังคมเต็มไปด้วยยาเสพติด สุรา สื่อเร้าความรุนแรงและส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่ผิดเป็นสาเหตุสำคัญอีก ประการหนึ่ง เช่น
         
๑) การที่สามีดื่มสุราหรือเสพยาเสพติดจนมึนเมา ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มักจะมีพฤติกรรมทุบตีและทำร้ายทางเพศที่รุนแรงกับภรรยาเสมอ
         
๒) สื่อที่ผลิตในรูปแบบต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนรู้ บุคคลอาจเรียนรู้การกระทำความรุนแรงจากสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ติดต่อกันนาน ๆ เข้าจนกลายเป็นค่านิยมหรือความชินชาที่รู้สึกว่าการกระทำนั้นเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา ไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด โดยสามารถถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้ เช่น ความรุนแรงจากสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ ทีวี วีดีโอ เป็นต้น

ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
     ๑. แนวทางป้องกันแก้ไขด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความเชื่อ และค่านิยม
         - ผู้นำทางสังคมทุกระดับควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการไม่สร้างไม่สนับสนุน ไม่ปกป้องผู้ใช้ความรุนแรงในครอบครัวทุกรูปแบบ
         -
ภาครัฐและเอกชนร่วมรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการต่อต้านการใช้ความรุนแรงในสังคม
         -
จัดหลักสูตร แนวทางการศึกษา และกิจกรรมเกี่ยวกับสิทธิ การป้องกันตนเองจากความรุนแรง และการหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ให้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนเกี่ยวกับทักษะชีวิต
         -
จัดหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับมิติหญิงชาย ความเสมอภาคเท่าเทียมระหว่างหญิงชายตามหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญในระบบ การศึกษาทุกระดับ
         -
จัดโครงการนำร่องโรงเรียนตัวอย่างที่ไม่ใช้ความรุนแรงโดยจัดกิจกรรมให้เด็ก รู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยไม่ใช้ความรุนแรง โดยการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุ เรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมของเด็ก ฝึกการยับยั้งชั่งใจตนเองและสร้างทักษะการเป็นพ่อแม่ที่ดีและการสร้างครอบ ครัวที่สันติสุข
         -
ส่งเสริมให้สถาบันศาสนามีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และเป็นที่พึ่งแก่ผู้ที่ประสบความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมสังคมที่ปราศจากความรุนแรง
         -
ส่งเสริมให้สตรีเข้าสู่พื้นที่ของศาสนาโดยเฉพาะการบวชเป็นภิกษุณี ซึ่งจะสามารถทำหน้าที่เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจ ที่ปรึกษาแนะนำ และผู้นำทางจิตวิญญาณ
    
๒. แนวทางป้องกันแก้ไขในเชิงโครงสร้างสังคม
         - เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มสนับสนุนต่าง ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะมีความผูกพันใกล้ชิด เข้าใจและให้ความสำคัญแก่สมาชิกแต่ละคน มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมีการยกย่องและความนับถือ ช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีความยืดหยุ่นและสามารถเผชิญอุปสรรค เป็นที่พึ่งในระดับต้นได้ โดยการสร้างมาตรการยับยั้ง ชะลอ และลดระดับความรุนแรงในชีวิตคู่และความรุนแรงอื่น ๆ ที่เด็กและผู้หญิงประสบอยู่ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทชุมชนในการเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบ ครัว ชุมชน และสังคมนั้น ๆ
         -
สร้างเครือข่ายในการบริการทางสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่สตรีที่ประสบปัญหา โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์ และองค์กรเอกชน ต้องมีการเตรียมพร้อมในการช่วยแนะนำและเผยแพร่บริการทางสังคม ให้ข้อมูลเพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา
    
๓. แนวทางป้องกันแก้ไขทางด้านสภาวะแวดล้อมและสิ่งเร้าจากภายนอก
         - ควบคุมการนำเสนอข้อมูลข่าวสารความรุนแรงและอาชญากรรมต่าง ๆ ที่สื่อถึงความรุนแรงหรือยั่วยุให้เกิดความรุนแรง และการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นอุปสรรคต่ออนาคตของสตรีที่ถูกทำร้าย
         -
ส่งเสริมทักษะฝีมือแรงงานและแหล่งเงินทุนแก่สตรีที่มีการศึกษาน้อย เพื่อเป็นทางเลือกให้สามารถพึ่งตนเองและมีอาชีพเลี้ยงตนเองได้
         -
ส่งเสริมการรวมกลุ่มของสตรีในชุมชนต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูบุตร เมื่อผู้ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมีความจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ โดยจัดเป็นกลุ่มช่วยเหลือในลักษณะต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มในระดับปฐมภูมิ เช่น กลุ่มวิชาชีพอาสาสมัคร กลุ่มพึ่งตนเอง กลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของคนที่มีปัญหาหรือ ประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน หรืออุดมการณ์ร่วมกันมาให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเผชิญภาวะวิกฤติ ด้วยบรรยากาศที่เอื้ออาทรต่อกัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียแต่เพียงเล็กน้อย
         -
ส่งเสริม สนับสนุนการทำงานของสื่อในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งสื่ออินเตอร์เน็ตและสถาบันทางวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพื่อให้มีบทบาทในการชี้นำทางความคิดในการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ส่งเสริมให้สื่อได้ทำงานในการสร้างสรรค์สังคม คุณภาพชีวิตที่ดี และสังคมที่ปราศจากความรุนแรง รวมทั้งมีมาตรการกำกับตรวจสอบการทำงานของสื่อที่ส่งผลกระทบไปในทางยั่วยุให้ เกิดความรุนแรง
    
๔. แนวทางแก้ไขทางด้านสุขภาพกายและจิต
          - สร้างระบบการให้คำปรึกษาทักษะชีวิตก่อนมีชีวิตคู่ และเผยแพร่คู่มือการครองคู่ที่เป็นสุข
          -
ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นและเอกชนจัดตั้งศูนย์ให้คำ ปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัว เน้นการทำงานเชิงป้องกัน เฝ้าระวังก่อนเกิดปัญหา
          -
พัฒนาทางด้านการแพทย์ ระบบสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้มีความเข้าใจต่อปัญหาความรุนแรงระหว่างสามีหรือคู่รัก และความรุนแรงในครอบครัว และควรจัดให้มีศูนย์ช่วยเหลือสตรีและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรงแบบครบวงจร ทั่วประเทศโดยมีโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง
    
๕. แนวทางแก้ไขทางด้านกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย การบริหารและการเมือง
          - อบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ให้มีทักษะในการจัดการคดีความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
          -
จัดตั้งหรือมอบหมายภารกิจให้ทุกจังหวัดให้มีหน่วยงานของรัฐรับผิดชอบโดยตรง เกี่ยวกับการให้บริการแก่เด็กและสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรง โดยเป็นหน่วยงานเฉพาะที่ให้ความช่วยเหลือครบวงจร คือ ให้คำปรึกษา  ให้ที่พักพิง และฟื้นฟูสภาพทางการและจิตใจ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ที่จำเป็นควบคู่ไปด้วย
          -
สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร และสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ดำเนินงานบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว โดยการจัดตั้งโครงการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานเหล่านั้น
         -
ผลักดันให้มิติหญิงชายและการยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็กเป็นประเด็นหนึ่ง ที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างสังคมแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสาร
    
๖. แนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมาย
     แก้ไข ปรับปรุง รวมทั้งจัดทำกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่
         
๖.๑ การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาตนเอง โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนหรือโดยทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็น บุคคลอื่นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่แปดพันบาท ถึงสี่หมื่นบาท.................. ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณายกร่างเป็นมาตรา ๒๗๖ ทวิ ขึ้นเพื่อเป็น ถ้าการกระทำตามมาตรา ๒๗๖ วรรคแรก เป็นการกระทำแก่หญิงซึ่งเป็นภริยาของผู้กระทำและกระทำในขณะที่ตนเป็นโรค ติดต่อทางเพศอย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งหรือได้กระทำในขณะที่แยกกันอยู่โดยความสมัครใจ ของทั้งสองฝ่ายด้วยสาเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาล ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท...........”                   
         
ต่อประเด็นนี้องค์กรผู้หญิงมีความเห็นว่า มาตราดังกล่าวละเมิดสิทธิมนุษยชนของสตรีในการมีส่วนร่วมในการควบคุม และตัดสินใจในเรื่องเพศซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุถึงความสมบูรณ์ของ สุขภาพทางกาย ทางเพศ และทางจิตใจ ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่เน้นความเสมอภาคในการได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมาย (มาตรา ๓๐) ให้สิทธิเสรีภาพของบุคคลในชีวิตและร่างกาย (มาตรา ๓๑) และให้ความคุ้มครองแก่เด็กและบุคคลในครอบครัวจากการทารุณกรรมในรูปแบบต่าง ๆ (มาตรา ๕๓) จึงรณรงค์เพื่อขอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ เพื่อให้ครอบคลุมถึงการข่มขืนภรรยาด้วย
         
๖.๒ การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด ๖ การสิ้นสุดแห่งการสมรสมาตรา ๑๕๑๖ (๑) ซึ่งบัญญัติไว้ว่าสามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภรรยาหรือภรรยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้โดยพิจารณาว่า การนอกใจคู่สมรสเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงทางด้านจิตใจ และด้วยเหตุที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดเหตุหย่าที่เป็นมาตรฐานซ้อนของสามีและ ภรรยา ดังนั้น จึงควรพิจารณาแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ให้ใช้เหตุหย่าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
         
๖.๓ การกำหนดกฎหมายพิเศษเฉพาะ ได้แก่ การบัญญัติกฎหมายว่าด้วยความรุนแรงในครอบครัวขึ้นโดยเฉพาะ เนื่องจากเห็นว่าปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่มีความละเอียด ซ้ำซ้อนเกี่ยวพันกับบุคคลใกล้ชิด จึงมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการทำร้ายร่างกาย ระหว่างบุคคลโดยทั่วไป การใช้มาตรการทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาบังคับใช้จึงค่อนข้างจะรุนแรงและ ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดมากกว่าจะเป็นพยายามแก้ไข ฟื้นฟูผู้กระทำผิด ดังนั้น กฎหมายว่าด้วยความรุนแรงในครอบครัวควรมุ่งประสงค์ให้ผู้กระทำผิดมีโอกาสกลับ ตัวและยับยั้งการกระทำผิดซ้ำ ๆ รวมทั้งสามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวไว้
         
๖.๔ การชะลอการฟ้อง เป็นมาตรการแก้ไขเยียวยาผู้กระทำผิดก่อนการพิจารณาคดีในชั้นอัยการ โดยการให้ผู้กระทำผิดเข้าร่วมในโครงการบำบัดเยียวยาหรือโครงการให้คำปรึกษา หรือโครงการแทรกแซงอย่างอื่น และถ้าผู้กระทำผิดปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน พนักงานอัยการก็จะระงับการฟ้องร้องคดีอาญาโดยเด็ดขาด ดังนั้นหากอัยการเห็นว่าเป็นประโยชน์กว่าถ้าไม่มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำ ความผิดอย่างเป็นทางการก็อาจจะใช้ทางเลือกอย่างอื่น เบี่ยงเบนผู้กระทำผิดให้ออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยอาจให้ความช่วยเหลือในหลายรูปแบบ เช่น ทางการแพทย์ ทางจิตใจ ทางสังคม แก่ผู้กระทำความผิด เพื่อเข้าถึงรากฐานที่เป็นปัญหาของการเกิดความผิด
         
มาตรการชะลอการฟ้อง เปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดี ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ วิธีการเช่นนี้ผู้กระทำผิดจะไม่เสียประวัติและชื่อเสียง อีกทั้งจะช่วยรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวให้กลับคืนมาสู่ภาวะปกติได้
         
ควรมีการชะลอการฟ้องหญิงซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาฆ่าคนตาย หากหญิงนั้นเป็นภรรยาหรืออยู่กินกับชายผู้เป็นสามีและมีประวัติประสบปัญหา ความรุนแรงในครอบครัวหรือการฆ่านั้นเกิดขึ้นขณะทะเลาะวิวาทอันเนื่องจาก ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
         
๖.๕ การคุมประพฤติ เป็นมาตรการแก้ไขเยียวยาผู้กระทำความผิดภายหลังการพิจารณาคดีในชั้นศาลด้วย วิธีการคุมประพฤติ เพื่อให้ผู้กระทำผิดที่ต้องการกลับตัวไม่หวนกลับไปกระทำผิดอีกเป็นวิธีการ ที่ศาลเลือกใช้กับบุคคลที่คาดว่าจะปรับปรุงแก้ไขตนเองได้ โดยจะให้อยู่ในความควบคุมและสอดส่องของเจ้าหน้าที่ หากผู้ถูกคุมประพฤติสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแก้ไขตนเองได้ การคุมประพฤติก็จะสิ้นสุดลง
         
๖.๖ วิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นวิธีการที่มุ่งคุ้มครองสังคมเพื่อป้องกันผู้ที่มีสภาพเป็นอันตรายต่อ สังคมกลับเข้ามากระทำความผิดซ้ำอีก จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาตรการนี้มาใช้กับคดี ประเภทความรุนแรงในครอบครัว เช่น วิธีการกักกันเป็นการช่วยดัดนิสัยให้ผู้กระทำผิดเกิดจิตสำนึกและช่วยขัดเกลา จิตใจให้กลับเป็นคนดี การห้ามเข้าเขตที่กำหนดเป็นมาตรการคุ้มครองและป้องกันการรบกวนหรือก่อความ ยุ่งยากวุ่นวายกับตัวภริยาที่เป็นผู้เสียหายและบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว
         
๖.๗ ศาลครอบครัว หากให้ศาลเยาวชนและครอบครัวมี อำนาจในการพิจารณาคดีความรุนแรงในครอบครัว น่าจะมีความเหมาะสมและยืดหยุ่น ทั้งยังเปิดโอกาสให้ศาลใช้ผู้เชี่ยวชาญมาทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยได้อย่าง เต็มที่และเหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทุกวันที่ 25 พ.ย.ของทุกปี องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้เป็น วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ขึ้น ด้วยเหตุนี้ หลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยูนิเฟม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเพื่อนหญิง ตลอดจนเครือข่ายยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง จึงได้รวมพลัง สร้างค่านิยม ไม่เพิกเฉย ต่อความรุนแรง พร้อมดำเนินโครงการรณรงค์ หนึ่งเสียง หยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง โดย ได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการเป็นทูตสันถวไมตรีให้กับกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติในการ ต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง (UNIFEM) ในโครงการ Say NO to Violence Against Women 
     ซึ่งหากจะพูดถึงความรุนแรงต่อผู้หญิงจริงๆ แล้วนั้น หมายถึง การ กระทำใดๆ ที่เป็นความรุนแรงที่เกิดจากอคติทางเพศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้งการขู่เข็ญ คุกคาม กีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและในชีวิตส่วนตัว
โดย รูปแบบที่ปรากฏอยู่ในสังคมบ้านเรานั้นมีหลากหลายรูปแบบ ล้วนแต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้หญิง ซึ่งความหลากหลายความรุนแรงต่อผู้หญิง...ที่สังคมไม่ควรควรมองข้าม แบ่งเป็น 
     ความรุนแรงทางเพศ หลายคนนึกถึงแต่การถูกข่มขืน ซึ่งจริงๆ แล้ว มีตั้งแต่การแทะโลมด้วยสายตา และวาจา การอนาจาร ลวนลาม คุกคามทางเพศ การข่มขืน (รวมถึงการข่มขืนภรรยา) รุมโทรม การข่มขืนฆ่า ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ 
  ความรุนแรงในครอบครัว ล่วง ละเมิด บังคับ ขู่เข็ญ ทำร้าย โดยบุคคลในครอบครัว อาจจะใช้กำลังทุบตีภรรยา ไม่รับผิดชอบครอบครัว นอกใจภรรยา ขายลูกสาว ด่าทอ ดูถูกเหยีดหยาม การปิดกั้นทางสังคมไม่ให้ติดต่อเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือสังคมภายนอก เป็นต้น  การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ทั้งจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่รับผิดชอบของฝ่ายชายหรือจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการไม่สามารถต่อรองเรื่องการคุมกำเนิดกับคู่ครองได้ การติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อเอดส์จากสามี หรือจากการถูกละเมิดทางเพการนำเสนอผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ เป็นการมองว่าผู้หญิงเป็นวัตถุที่สามารถ ดึงดูดได้ในสื่อลามกต่างๆ การโฆษณาสินค้า รวมทั้งการแอบถ่ายคลิปฉาวต่างๆและการล่อลวงมาบังคับค้าประเวณี หรือใช้แรงงานเยี่ยงทาสโดยนายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง ให้ข้อมูลว่า จากสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลประจำจังหวัด 297 แห่ง ในปี พ.ศ. 2550 มีเด็ก สตรีและผู้สูงอายุที่ถูกกระทำทารุณเข้ารับบริการถึง 19,068 ราย เป็นผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 8,172 ราย และสถิติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยพบความรุนแรงที่เกิดต่อผู้หญิง เป็นการกระทำของใกล้ชิด แฟน และสามี มากกว่าคนไม่รู้จักกันหรือคนแปลกหน้าซึ่งมีจำนวนน้อยมาก   ในส่วนของมูลนิธิเพื่อนหญิงได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงเฉลี่ยปีละ 1,500 รายและพบว่าปี 2551 น่าจะเพิ่มถึง 1,600 ราย โดย 80% เป็นการกระทำความรุนแรงในครอบครัวและ 20% เป็นคดีข่มขืนและภัยทางเพศ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ควรเป็นปัญที่ต้องรีบเร่งดำเนิการแก้ไขโดยด่วนนอกจากนี้ยังพบว่า จากสถิติของกองวิจัยและวางแผนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนเมษายน กันยายน พ.ศ. 2551 พบว่าความรุนแรงต่อผู้หญิงที่มีการแจ้งความดำเนินคดีการทำร้ายร่างกาย และข่มขืนกระทำชำเราสูงถึง 18,191 ราย และ 4,359 ราย ตามลำดับ อย่างไรก็ตามจากผลการสำรวจ และรวบรวมข้อมูลของมูลนิธิเพื่อนหญิง พบว่าหลายกรณีของความรุนแรงต่อผู้หญิงมีปัจจัยกระตุ้นก่อให้เกิดความรุนแรง มากขึ้น คือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด และการพนันด้านการสำรวจขององค์การอนามัยโลก พบ ว่าผู้หญิงร้อยละ 10-50 มีประสบการณ์ในช่วงชีวิตที่ถูกสามีหรือคู่รักของตนทำร้ายร่างกาย และผู้หญิงประมาณร้อยละ 12-25 เคยถูกสามีหรือคู่รักพยายามขืนใจหรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ด้วย ที่สำคัญ คือ ความรุนแรงที่ผู้หญิงได้รับจากคู่หรือสามีหรือผู้ชายอื่น เป็นสาเหตุสำคัญ 1 ใน 10 ของสาเหตุการตายของผู้หญิงอายุระหว่าง 15-44 ปี” 
 จาก ข้อมูลเบื้องต้น สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าความรุนแรงที่ผู้หญิงประสบจากคู่ของตนนั้นเป็นปัญหา ทางสุขภาพที่สำคัญและเป็นประเด็นที่แสดงถึงการผู้หญิงถูกคุกคามและละเมิด สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการที่จะมีชีวิตอย่างปลอดภัย นับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ และนี่!! คง จะถึงเวลาแล้ว ที่เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เพราะคุณเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ด้วยการหยุดเพิกเฉย หากพบเห็นการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิง ซึ่งวิธีการช่วยเหลือนั้นอาจมีหลายรูปแบบ เช่น หากพบเห็นการกระทำที่รุนแรงต่อผู้หญิงควรรีบโทรศัพท์แจ้งตำรวจ หรืออาจเข้าไปช่วยเหลือหากที่ใน ส่วนของครอบครัว ควรปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมว่าชายหญิงนั้นเท่าเทียมกัน ควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน หยุดการทำร้ายคนในครอบครัว รวมถึงการช่วยกันสอดส่องดูแลเฝ้าระวังการป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ ภายในชุมชน สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และที่สำคัญช่วยกันสร้างชุมชนที่ปลอดจากการดื่มสุราและสิ่งเสพติดอื่นๆ ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาความรุนแรงต่างๆ และที่สำคัญทุกคนสามารถร่วมล งชื่อเพื่อแสดงจุดยืนในการสนับสนุน ให้มีการยุติการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และร่วมรณรงค์ให้วาระนี้ เป็นวาระเร่งด่วนของประชาคมโลกได้ที่ www.novaw.or.th โดยกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเฟม (UNIFEM) จะ มอบรายชื่อของทุกคน ที่ร่วมลงนาม ให้กับ นาย บัน คี มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นการแสดงถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของคนไทย ในการร่วมกันต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรีต่อไป
แนะตั้งสติไว้ ปลอดภัยที่สุด

มีคนเคยกล่าวไว้ว่าที่ที่อันตรายที่สุด คือที่ที่ปลอดภัยที่สุด แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้คนเราต้องระแวดระวังตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยทั้งร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน วันนี้จึงนำข้อควรปฏิบัติเมื่อผู้หญิงต้องอยู่ในที่สาธารณะโดยลำพัง ไม่ว่าจะในลิฟต์ ห้องน้ำสาธารณะ หรือแม้กระทั่งบ้านของตัวเอง มาฝากกันค่ะ

กรณีอยู่ในสถานการณ์คับขัน

หาก คนร้ายประชิดตัว และอยู่กันตามลำพัง พยายามรวบรวมสติอย่าตกใจจนเกินไป หาวิธีการช่วยเหลือตนเองเฉพาะหน้า โดยการใช้น้ำเย็นเข้าลูบ หรือพูดจาถ่วงเวลาให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหาทางหลบหนีออกมาจากสถานการณ์นั้นๆ

พยายาม ไม่ยั่วยุคนร้าย เพราะอาจทำให้คนร้ายใช้ความรุนแรง มีหลายจุดที่อาจจู่โจมคนร้ายได้ เช่น ดวงตา อวัยวะเพศ แต่ต้องให้แน่ใจว่าสามารถทำให้คนร้ายเจ็บจริงจนหยุดการกระทำ หรือเสียการทรงตัวชั่วขณะ เพื่อให้สามารถหลบหนีออกมาจากสถานการณ์ตรงนั้นได้ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้สถานการณ์แย่กว่าเดิม

กรณี อยู่ท่ามกลางฝูงชนหรือบริเวณที่มีผู้คน เช่น ถูกอนาจารบนรถเมล์ ไม่ควรอาย ให้ร้องขอความช่วยเหลือดังๆ หากพบว่า มีคนเดินตามในที่เปลี่ยว ควรตะโกนว่าไฟไหม้อย่าตะโกนว่า ช่วยด้วยแล้ว วิ่งหนีให้เร็วที่สุด ควรแจ้งความหรือให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงบันทึกประจำวัน เพื่อนำตัวคนทำผิดมาลงโทษ หรืออย่างน้อยเพื่อเป็นการตักเตือนผู้กระทำผิด ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือ ต้องตั้งสติให้มั่นเพื่อที่จะเลือกวิธีเอาตัวรอดได้อย่างเหมาะสม

กรณีความรุนแรงในครอบครัว

ไม่ ทำให้เหตุการณ์รุนแรงยิ่งขึ้น เช่น ยุติการโต้เถียงในขณะที่ต่างฝ่ายต่างมีอารมณ์โกรธ แล้วพยายามหันหน้ามาปรึกษาพูดคุยกัน เมื่อต่างฝ่ายอยู่ในสภาพที่พร้อม กรณีที่ไม่สามารถพูดคุยกันได้โดยตรง อาจให้ผู้ใหญ่ที่นับถือ หรือญาติพี่น้องมาเป็นตัวกลางในการพูดคุย
 กรณี ที่ถูกทำร้ายหรือไม่มั่นใจในความปลอดภัย ให้พยายามเลี่ยงจากสถานการณ์หรือสถานที่นั้น โดยอาจติดต่อขอความช่วยเหลือจากตำรวจ ญาติพี่น้อง หรือเพื่อน หรือบุคคลที่ไว้ใจ หรือย้ายที่อยู่ชั่วคราวจนกว่าปัญหาจะคลี่คลาย
โทรศัพท์ ขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง เพื่อน หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ หากยังไม่ได้ผล ควรตัดสินใจใช้สิทธิตามกฎหมาย แจ้งความต่อตำรวจ เพราะไม่มีใครมีสิทธิทำร้ายผู้อื่นแม้จะเป็นสามี
 ตั้งสติพยายามทบทวนเรื่องราว หาเหตุผลและวิธีการแก้ไขปัญหา รวมถึงพิจารณาว่า หากจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันต่อไป ควรมีข้อตกลงกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก ไม่ระบายอารมณ์กับเด็ก โดยดุด่า ทุบตี หรือทำร้าย เพื่อประชดอีกฝ่ายหนึ่ง

กรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ

ควร รีบให้แพทย์ตรวจร่างกายอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ควรอาบน้ำหรือชำระล้างร่างกายหรือเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานได้ชัดเจนและครบถ้วน เพราะการตรวจร่างกายอย่างเร่งด่วนไม่ว่าจะตัดสินใจดำเนินคดีหรือไม่ จะเป็นผลดีในแง่การป้องกันการติดโรคจากเพศสัมพันธ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถทำได้ดีภายใน 48 ชั่วโมง และเมื่อตัดสินใจที่จะแจ้งความร้องทุกข์เมื่อใด พยานหลักฐานทางการแพทย์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ ว่าถูกละเมิดทางเพศจริง เพราะการดำเนินคดีการละเมิดทางเพศในประเทศไทยให้ความสำคัญกับผลการตรวจร่าง กายของแพทย์เป็นสำคัญ

หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวตามลำพัง เพราะอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่เป็นผลร้ายกับตนเอง เช่น ทำร้ายตนเอง พยายามฆ่าตัวตาย ให้กำลังใจตนเอง ไม่ควรลงโทษตนเอง เพราะไม่มีผู้ใดต้องการถูกข่มขืน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ความผิดของตนเอง แต่เป็นความผิดของชายที่มากระทำต่างหาก ให้รำลึกอยู่เสมอว่า คุณค่า อนาคต ความสามารถของเรามิได้สูญเสียไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ควรตัดสินใจคลี่คลายปัญหาโดยอาจหาบุคคลที่ไว้ใจได้ เช่น พ่อแม่ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาหรือแจ้งความนำผู้กระทำผิด มาลงโทษ เพื่อไม่ให้เขามีโอกาสมากระทำซ้ำ หรือไปกระทำกับคนอื่นอีก

ข้อควรจำทางกฎหมาย

เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสสำคัญในการที่จะพิทักษ์สิทธิตามกฎหมายของตนเอง ผู้ถูกข่มขืนที่มีอายุเกิน 15 ปี ระยะเวลาที่สามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเพียง 3 เดือน นับจากวันเกิดเหตุเท่านั้น สำหรับผู้ถูกข่มขืนที่อายุไม่ถึง 15 ปี เป็นกรณีที่ยอมความไม่ได้ มีระยะเวลาแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่เกิดเหตุ
 การป้องกันความรุนแรงนองเลือด
1. เจตจำนงของมหาชนไม่ต้องการความรุนแรง

        
ไม่มีใครอยากเห็นความรุนแรงนองเลือด นอกจากคนเป็นโรคจิตบางประเภท การป้องกันความรุนแรงนองเลือดเฉพาะหน้าอยู่ที่เจตจำนงของ มหาชน ว่าไม่ต้องการความรุนแรง เจตจำนงของมหาชนที่ปฏิเสธความรุนแรงจะทำให้การก่อความรุนแรงอ่อนพลังลง ที่ประเทศเยอรมนีเมื่อประมาณ ๑๐ ปีเศษที่ผ่านมาเกิดมีกลุ่มนีโอนาซีเที่ยวทำร้ายแรงงานต่างชาติในประเทศ คนเยอรมันเป็นแสน ๆ คนเดินขบวนที่กรุงเบอร์ลินเพื่อแสดงเจตจำนงว่า คนเยอรมันไม่ต้องการกระทำที่ไม่ถูกต้องเช่นนั้น นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็ไปร่วมเดินขบวนกับเขาด้วย การแสดงเจตจำนงของมหาชนคราวนั้นมีผลให้การก่อความรุนแรงหายไป

        
ถ้ามหาชนชาวไทยไม่ต้องการความรุนแรงก็ต้องร่วมกันแสดงเจตจำนงให้มากที่สุด ทุกภาคส่วนต้องแสดงออกว่าไม่ต้องการเห็นความรุนแรง รัฐบาลต้องแสดงออกให้ชัดเจนว่าไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงและกำชับเจ้า หน้าที่ตำรวจให้ป้องปราบจับกุมผู้ใช้ความรุนแรงผิดกฎหมาย เจตจำนงของมหาชนจะเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติตามกฎหมายได้ดีขึ้น ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติตามกฎหมายก็จะป้องกันความรุนแรงนองเลือดได้มาก

2.
คาถาป้องกันความรุนแรง

        
ในขณะที่ต้นเหตุของความขัดแย้งใหญ่ยังแก้ไขไม่ได้ ทุกฝ่ายต้องช่วยประคับประคองนาวาประเทศไทยให้แล่นผ่านมรสุมโดยไม่อัปปางลง มีคาถาอยู่ ๓ คำ ถ้าทุกฝ่ายท่องไว้และปฏิบัติตามจะช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตการณ์ความ รุนแรงนองเลือดไปได้ คาถา ๓ คำนั้นคือ สันติ นิติ สัมมา

        
สันติ คือ สันติธรรม ขณะที่ยังแตกต่างกันและต้องต่อสู้กันก็ต่อสู้กันได้ แต่ต้องใช้สันติวิธีอย่าใช้วิธีอันธพาลทำร้ายเข่นฆ่ากัน พยายามใช้เหตุผล ความรู้ ความจริง สัมมาวาจา ความอดทน ในสมัยแห่งการสื่อสารสมัยใหม่ใครทำอะไรก็ถูกบันทึกเผยแพร่ไปทั้งโลก ใครใช้ความรุนแรงก็จะแพ้ภัยตนเอง ฝ่ายที่ถูกทำร้าย ถ้าใช้การต่อสู้ด้วยอหิงสธรรมแบบมหาตมะคานธี เวรก็จะระงับด้วยการไม่จองเวร ความรุนแรงไม่บานปลาย แต่ระงับดับไปได้ด้วยพลังของความดี

        
นิติ คือ นิติธรรม ต้องยึดหลักความยุติธรรม กฎหมาย กฎ กติกา การไม่เคารพกฎหมายจะทำให้เกิดจลาจล การเคารพกฎหมายจะทำให้เรื่องยาก ๆ คลี่คลายลงได้ ทุกภาคส่วนต้องสนใจระบบความยุติธรรมและช่วยกันพัฒนาระบบความยุติธรรมให้แข็ง แรง ซึ่งจะช่วยให้ประชาธิปไตยมีคุณภาพ วิกฤตการณ์ของเราเกิดจากประชาธิปไตยขาดคุณภาพ

        
สัมมา คือ สัมมาธรรม หรือความถูกต้อง ตรงข้ามกับมิจฉา ความถูกต้องทำให้เกิดศรัทธา ความเชื่อถือไว้วางใจ ความราบรื่น ขอยกตัวอย่างเล็ก ๆ เช่น อภิปรายการไม่ไว้วางใจรัฐบาลคราวที่ผ่านมา เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองอีกสองท่านทำหน้าที่อย่างยุติธรรม แม้ตนเองสังกัดพรรคพลังประชาชน ก็ทำให้เกิดความราบรื่นและได้รับการยกย่องชมเชย โดยทั่วไปหากทั้งสามท่านหรือท่านใดท่านหนึ่งขาดความยุติธรรม ลองนึกดูว่าจะนำไปสู่ความโกลาหลเพียงใด เมื่อมีการตั้ง คุณเตช บุนนาค เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศก็มีเสียงอนุโมทนาสาธุโดยทั่วกัน เพราะคุณเตชเป็นคนมีความรู้และความดี ลองนึกดูว่าถ้าคณะรัฐมนตรีทั้งคณะประกอบด้วยคนมีความรู้และความดี มหาชนจะชื่นชมยินดีและสนับสนุนรัฐบาลขนาดไหน บ้านเมืองจะราบรื่นขนาดไหน ที่เราลำบากยากเข็ญกันทุกวันนี้เพราะการเมืองขาดความถูกต้อง ประชาธิปไตยขาดความคุณภาพ สักแต่ว่ามีการเลือกตั้งก็เป็นประชาธิปไตยแล้วเท่านั้นไม่พอ ประชาธิปไตยต้องมีคุณภาพด้วย บ้านเมืองจึงจะไปรอดอย่างราบรื่น คนไทยทุกคนทุกฝ่ายจะต้องท่องว่า สัมมา สัมมา หรือ ถูกต้อง ถูกต้อง และกระทำการทุกชนิดด้วยความถูกต้องเราจึงจะมีศานติสุขได้

3.
หากนองเลือดไม่มีใครชนะ

        
ความขัดแย้งใหญ่เฉพาะหน้ามาจากการที่มีคนไทยส่วนหนึ่งจำนวนมากพอสมควร อาจกว่า ๑๐ ล้านคน มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นหัวหอก มีความเชื่อว่า ระบอบทักษิณมีการโกงกินอย่างมโหฬาร แยกไม่ออกระหว่างนโยบายกับผลประโยชน์ของตนเอง มีคดีเยอะแยะนัวเนียไปหมด ใช้เงินซื้อคนเป็นพวก เป็นอันตรายต่อระบบประชาธิปไตย รัฐบาลสมัครเป็นนอมินีของระบอบทักษิณ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปเพื่อทักษิณและคณะ จึงประกาศต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยว ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าถ้าพรรคพลังประชาชนยืนยันที่จะแก้รัฐธรรมนูญและขนคนมา ปะทะกันจะเกิดการนองเลือดขึ้น การนองเลือดที่เกิดขึ้นไม่ทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะ เพราะทหารก็จะยึดอำนาจ บ้านเมืองจะยุ่งยากและขัดแย้งต่อไป ทุกฝ่ายจึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความรุนแรงนองเลือด

4.
ความขัดแย้งทุกชนิดจบลงด้วยการเจรจา

        
ความขัดแย้งทุกชนิดจบลงด้วยการเจรจา ในประวัติศาสตร์อังกฤษมีการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างฝ่ายกษัตริย์กับฝ่าย ประชาธิปไตย มีความรุนแรงเสียเลือดเสียเนื้ออยู่นานตั้ง ๒๐๐ ปีกระมัง ในที่สุดต้องเจรจาว่าตกลงเอาอย่างนี้ ๆ เถอะ ก็เกิดระบอบประชาธิปไตยแบบอังกฤษซึ่งยั่งยืนมาช้านาน ความขัดแย้งที่อื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน แม้แต่การยุติสงครามอย่าคิดว่าเป็นการแพ้ชนะในการสู้รบเท่านั้น แต่มีการเจรจาหาทางออกอย่างมีศักดิ์ศรี อย่างสงครามเวียดนาม อเมริกาเป็นฝ่ายผิดแน่นอนที่ยกเข้าไปรบในบ้านเมืองของเขา แม้อเมริกันจะพ่ายแพ้ต่อสงครามกองโจรในเวียดนามแต่อเมริกาก็ทรงไว้ซึ่ง แสนยานุภาพที่จะทิ้งระเบิดกรุงฮานอยให้เป็นจุนไปหรือทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ก็ ได้ ต่อให้เกลียดแสนเกลียดก็มีการเจรจาหาทางยุติอย่างมีศักดิ์ศรีเพื่อป้องกัน ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงถ้าจะไปกันจนสุด

5.
เราจะมีประชาธิปไตยคุณภาพได้อย่างไร

        
น่าจะถึงเวลาที่คนไทยทุกฝ่ายจะมาเจรจาถึงอนาคตของเราร่วมกัน ว่าเราจะมีประชาธิปไตยคุณภาพที่เอื้ออำนวยความเจริญและสันติสุขอย่างไร อาจจะตรงกับที่อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ ใช้คำว่า สันติประชาธรรม สันติประชาธรรมไปไกลกว่าประชาธิปไตยเฉย ๆ เพราะถ้าประชาธิปไตยแล้วโกงกันอย่างมโหฬารและนำไปสู่การฆ่ากันตายก็แสดงว่า ประชาธิปไตยยังไม่มีคุณภาพ สันติประชาธรรมหมายถึง ประชาธิปไตยด้วย มีความเป็นธรรมด้วย มีสันติธรรมด้วย สันติประชาธรรมเป็นทั้งมรรคและเป้าหมายของประชาธิปไตย เป้าหมายคือเรามีสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วม มีการปกครองโดยธรรม เกิดประโยชน์สุขต่อมหาชน มีสันติภาพ มรรควิธีของสันติประชาธรรมก็คือสันติวิธี ประชาชนมีส่วนร่วม มีความถูกต้องเป็นธรรม

        
ถ้าตกลงเห็นชอบพร้อมกันว่าประชาธิปไตยที่เป็นสันติประชาธรรมควรเป็นเช่นไร แล้ว ก็มีกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน ให้สวยงาม ให้ถูกต้อง ให้ศักดิ์สิทธิ์ รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นท่ามกลางความเห็นพ้องร่วมกันในเป้าหมายของประชาธิปไตย สันติประชาธรรม จะราบรื่นมากกว่าที่ทำขึ้นในความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญของ คมช. หรือรัฐธรรมนูญของ พปช. ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของอีกฝ่าย ยุติความขัดแย้งและป้องกันความรุนแรงไม่ได้

6.
ความมุ่งมั่นในอนาคตร่วมกันจะป้องกันความรุนแรงได้ดีที่สุด

        
หากเรามีอนาคตมุ่งมั่นในอนาคตร่วมกัน ความขัดแย้งระหว่างกันจะลดน้อยหรือหมดไป เช่น ในยามสงครามทุกคนมีจุดมุ่งหมายที่จะเอาชนะสงครามร่วมกันแทบจะไม่ทะเลาะกัน เลย จริง ๆ แล้วขณะนี้ เรามีวิกฤตการณ์ที่รุนแรงมากทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง ประกอบกับการมีพระชันษาสูงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งหมดรวมกันเป็นมหาวิกฤตการณ์สยามที่ยากต่อการแก้ไข จริง ๆ แล้วไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งแก้ได้ ควรที่คนไทยทุกหมู่เหล่าทุกภาคส่วนจะมาเจรจาและพูดคุยของอนาคตของเราร่วมกัน ถ้าเราทำได้ดังมหาวิกฤตก็จะเป็นมหาโอกาสที่เราจะไปสิ่งใหม่ที่ดี เราไม่สามารถรอมชอมกัน แล้วอยู่ในภพภูมิเก่า ๆ เพราะภพภูมิเก่า ๆ นั่นแหละทำให้เกิดวิกฤต เหมือนเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดาถ้าโตเต็มที่แล้วต้องคลอดไปสู่ภพภูมิใหม่นอก ครรภ์มารดาจึงจะเติบโตต่อไปได้ ถ้ายังอยู่ในภาพภูมิเดิมคือในครรภ์มารดาก็จะตายทั้งแม่และลูก สังคมไทยเติบโตมากจนอยู่ในภพภูมิเดิมไม่ได้แล้ว เราจึงต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งใหม่ที่ดีนั้นคืออะไร

        
สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเป็นเครื่องมือส่งเสริมประชาธิปไตยของรัฐสภา และเป็นสำนักงานของสถาบันพัฒนาการเมือง น่าจะมีความชอบธรรมและเหมาะสมที่สุดที่จะประสานงานให้คนไทยทุกภาคส่วนมา กำหนดอนาคตของเราร่วมกันในประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ

         
การที่คนไทยทุกภาคส่วนสามารถมากำหนดอนาคตของเราร่วม กันได้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการป้องกันความรุนแรงนองเลือด และประเทศดำเนินไปบนเส้นทางสันติประชาธรรมได้
การป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน
ในปัจจุบันข่าวคราวเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง แก้ปัญหาเป็นเรื่องที่พบเห็น และได้ยินได้ฟังอย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่พบเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง ความรุนแรงที่แสดงออกเป็นไปได้ ตั้งแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ใช้กำลังทำ

ร้าย หรืออาจรุนแรงถึงขั้นฆ่าผู้อื่นตาย ข่าวคราวเกี่ยวกับความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถนำมาใช้เป็นอุทาหรณ์ หรือ บทเรียน สำหรับนักเรียนได้โดยที่เราอาจจัดบทเรียนเพื่อประยุกต์ใช้ในชั่วโมงที่เหมาะ สม เช่นในชั่วโมงสำหรับวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หรือชั่วโมงแนะแนวก็ตามโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงบทบาทของตนเอง ในการป้องกันความรุนแรงตลอดจนสามารถ วิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความรุนแรง และมีทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยที่นักเรียนควรได้รับการสอนให้ตระหนักว่า การใช้ความรุนแรงแก้ปัญหามิใช่หนทาง ที่ควรนำมาใช้จัดการกับความรู้สึกโกรธของตนเอง ซึ่งในที่นี้การใช้ความรุนแรง หมายถึงความพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อทำร้ายผู้อื่น ซึ่งความรุนแรงดังกล่าว อาจนำไปสู่การฆ่าผู้อื่น และถือว่าเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง แนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรง การกระทำที่ใช้ความรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นโดยไม่ได้คาดคิด โดยมากมักจะเป็นผลจากความโกรธ ที่บุคคลไม่สามารถควบคุมได้ จนกลายเป็นเรื่องที่ทำลายอนาคตคนที่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ให้ย่อยยับลงได้ในพริบตา การแก้ปัญหาความรู้สึกโกรธ หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นควรใช้การสื่อ และหาทางออกถึงความรู้สึกโกรธอย่างเหมาะสม และฝึกทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อมีความขัดแย้ง หรือมีความรู้สึกโกรธเกิดขึ้น
ในสหรัฐอเมริกามีการจัดหลักสูตรการป้องกันความรุนแรง สำหรับวัยรุ่นที่เน้นการสอน และฝึกทักษะให้แก่เด็ก โดยเฉพาะการป้องกันการก่อเหตุฆ่าผู้อื่น โดยมีสมมุติฐานว่ามีปัจจัยเบื้องต้น 3 ประการที่มักนำไปสู่การก่อการเหตุรุนแรงนั่นคือความโกรธเคือง หรือการทะเลาะเบาะแว้งกัน เหล้าหรือยาเสพติด และการมีอาวุธในครอบครอง ดังนั้น หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการสอนเพื่อทำให้นักเรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของ ปัจจัยแวดล้อม และพฤติกรรมของตนเองที่มีส่วนส่งเสริมให้เกิด การก่อเหตุส่งเสริมให้เกิดการก่อเหตุรุนแรงหรือ ช่วยลดความรุนแรงของเหตุการณ์ลงได้ ในหลักสูตรจะใช้การสอนด้วยกิจกรรมกลุ่ม ที่เน้นหลักการพื้นฐานของการแก้ปัญหาความขัดแย้งใด ๆ ด้วยท่าทีอันสงบซึ่งประกอบด้วย
หลักปฏิบัติสำคัญ ๆ ในขณะเกิดปัญหาดังนี้

1.
ให้พยายามอยู่ในภาวะควบคุมความโกรธของตนเองเสมอ
2.
ให้รักษาระดับอารมณ์ พยายามรักษาระดับเสียงให้ราบเรียบ และสงบ
3.
ให้พยายามเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจฝ่ายที่เป็นคู่กรณี

*
นักจิตวิทยา สถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นราชนครินทร์
ส่วนกลวิธีเฉพาะที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาการเผชิญหน้า ประกอบด้วย
1.
ช่วยหาทางออกให้ฝ่ายที่เป็นคู่กรณี
2.
ระมัดระวังการพูดจาของตน พยายามให้เรื่องที่พูดกันนั้นเป็นเรื่องเบา ๆ หรือพยายามใช้อารมณ์ขันเข้าช่วย
3.
ให้รู้จักการใช้คำขอโทษ และการให้อภัย

แนวทางการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน
จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นอาจนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม ให้เด็กในชั้นเรียน ซึ่งอาจทำให้อย่างง่าย ๆ โดยการยกกรณีตัวอย่างซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์สมมติ หรือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นจริงนำมาเล่าให้นักเรียนฟัง และอภิปรายในกลุ่มตลอดจนการนำเรื่องมาผูกเป็นละคร ให้นักเรียนลองสวมบทบาทสมมติตัวอย่างของกิจกรรม ที่อยู่ในหลักการป้องกันความรุนแรง ที่สามารถนำมาใช้ได้ ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 1

อ่านเรื่องราวต่อไปนี้ให้นักเรียนในชั้นฟัง แล้วให้นักเรียนช่วยหยิบยกปัจจัย ที่นักเรียนเห็นว่า นำไปสู่การก่อเหตุการณ์รุนแรง
เย็นวันเสาร์หลังงานกีฬาสีของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง นักเรียนชาย 2 คน ได้เกิดชกต่อยกันขึ้น ระหว่างที่ต่อสู้กันนั้นคนหนึ่งถูกยิง และเสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ตำรวจได้จับกุมนักเรียนคู่กรณี และตั้งข้อกล่าวหาว่ากระทำการฆาตกรรมผู้อื่น จากปากคำผู้เห็นเหตุการณ์ การชกต่อยเกิดขึ้น เนื่องจาก ผู้ตายได้กล่าวล้อเลียนถึงกรแข่งขันฟุตบอลที่ผ่านมา และพยานยังกล่าวอีกว่านักเรียนทั้งคู่ต่างดื่มสุรา มาก่อนเกิดเหตุ
ให้นักเรียนในชั้นเรียนช่วยกันคิด และอภิปรายโดยมุ่งประเด็นความสนใจ ถึงปัจจัยที่นำไปสู่การ
เกิดเหตุทะเลาะวิวาท จนเกิดเหตุการณ์ฆ่ากันตาย และจะป้องกันสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง ในการช่วยกันอภิปรายควรพยายามทำให้นักเรียน ตระหนักว่าปัจจัยเช่น การแข่งขัน ความรู้สึกเปรียบเทียบ การใช้กำลัง การดื่มสุรา การยุยง และการมีอาวุธในครอบครอง ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องที่นำไปสู่การกระทำรุนแรง จนกลายเป็นเหตุการณ์น่าสลดใจทั้งสิ้นประเด็นคำถามเพิ่มเติมที่ควร ทำให้นักเรียนสนใจ คือการอภิปรายถึงผลสืบเนื่องจากการกระทำรุนแรงได้แก่ จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กที่ต้องโทษคุมขัง การทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้นคุ้มค่ากับความสูญเสีย ของบุคคลทั้งสองหรือไม่เป็นต้น นอกจากนี้แล้วอาจให้นักเรียนมีส่วนร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เคยพบเห็นสัก 2 เรื่อง โดยให้เรื่องหนึ่งเป็นสถานการณ์ซึ่งมีปัจจัย ที่อาจนำไปสู่การกระทำที่มีแนวโน้ม ว่าจะกลายเป็นเหตุรุนแรง ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง ให้เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการกระทำบางอย่าง ที่เป็นการป้องกันเหตุการณ์รุนแรงได้ นอกจากนี้อาจนำเอาเรื่อง ที่เป็นข่าวน่าสนใจมาอภิปรายร่วมกันโดยให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาวิเคราะห์ ถึงเหตุปัจจัย ตลอดจนกลวิธีที่จะป้องกันไม่ให้กลายเป็นเรื่องรุนแรงดังเป็นข่าว

กิจกรรมที่ 2

ให้นักเรียนได้ลองสวมบทบาท สมมติว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถหาหนทางป้องกันการกระทำที่กอให้เกิด ความรุนแรงได้ ซึ่งกำหนดหัวข้อดังนี้
บทบาทแรก
ให้นักเรียนที่ได้รับเลือกออกมาแสดงถึง สถานการณ์ และปัจจัยซึ่งอาจนำไปสู่การต่อสู้หรือการกระทำรุนแรง
บทบาที่สอง
ให้นักเรียนออกมาแสดงสถานการณ์เดียวกัน แต่ใช้หลักการพื้นฐาน และกลวิธีที่เสนอไว้ตอนต้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันนั่นคือ หลักการที่ให้ควบคุมอารมณ์ตนเอง และหาทางออกให้ผู้อื่น ระหว่างการแสดงออกให้มีการถ่ายวีดิโอ เพื่อให้สามารถนำเหตุการณ์มาพิจารณา และวิเคราะห์ซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง การอภิปรายในขั้นตอนนี้อาจมุ่งให้ความสนใจในเรื่อง อะไรทำให้เกิดการวิวาทกันขึ้นมีสิ่งแวดล้อมอะไรบ้างที่ ทำให้บุคคลต้องตกอยู่ในสถานการณ์ซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงได้ และมีหนทางอะไรบ้าง ในการจัดการกับอารมณ์โกรธของตนเองเป็นต้น
จะเห็นว่าเป้าหมายที่สำคัญในกิจกรรมเหล่านี้ก็คือ การทำให้นักเรียนเกิดการตระหนักรู้และสามารถเปรียบเทียบแยกแยะถึงผลเสีย ของการกระทำที่รุนแรง รู้จักพิจารณา และวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การกระทำดังกล่าว และที่สำคัญก็คือให้เกิดได้มีโอกาสฝึกใช้ทักษะ ที่จำเป็นใน การลดอารมณ์โกรธซึ่งอาจนำไปสู่การก่อเหตุรุนแรงได้

พัฒนาการความรุนแรงแบบ anatomy
     ประวัติ ศาสตร์การใช้อาวุธของมนุษยชาติสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการความรุนแรงแบบ anatomy (หรือวิธีที่มนุษย์คิดค้นนำมาทำร้ายกัน) ว่ามีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งจำแนกตามลำดับประวัติศาสตร์ออกได้เป็น 6 อย่างคือ การทุบทำลาย การตัดขาด การแทงหรือทะลุทะลวง การเผา การวางยาพิษและการทำให้ระเหิด
     ถ้าดูจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลที่กล่าวว่าเคนสังหารเอเบลโดยการใช้ก้อนหิน ทุบ ก็แปลว่า first murder ของมนุษย์คือการทุบทำลาย หลังจากนั้น จึงเป็นการฟันหรือการตัดต่างๆ นานา อาวุธที่ใช้ก็เป็นจำพวกดาบ โดยดูได้จากประวัติศาสตร์การลงทัณฑ์ เช่น การตัดมือ ตัดแขน แยกร่าง ต่อมาคือการแทง เช่น ด้วยมีดหรือกริช จนมาถึงการเผา เช่น การเผาแม่มด การวางยาพิษประเภทต่างๆ จนถึงท้ายสุดคือการทำให้ระเหิดหายไปโดยการใช้ปรมาณู
     สิ่งเหล่านี้บอกเราว่ามนุษยชาติได้ใช้ความอุตสาหะพยายามมากมายตลอดมาใน การทำให้การทำร้ายประหัตประหารกันง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แค่ดูจากอาวุธที่ใช้เพื่อทำลาย anatomy ของมนุษย์ก็น่าทึ่งมาก เช่น เราพัฒนาจากการใช้ดาบ เป็นกระสุนปืน ไปสู่แก๊ซพิษ พัฒนาระเบิดปรมาณู จนกระทั่งถึงความก้าวหน้าทางอาวุธชีวภาพ
รูปแบบความรุนแรงแบบ physiology
     
ในแบบ physiology หรือว่าการทำให้ร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกตินั้น ก็สามารถทำได้หลายวิธี ที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้เป็นความรุนแรงที่แทบจะมองไม่เห็นเลย ได้แก่ การไม่ให้อาหาร (ไม่อนุญาตให้เพาะปลูก ไม่ให้จับปลา) การไม่ให้น้ำ (เช่น การสร้างเขื่อนของประเทศจีนทำให้สามารถควบคุมการไหลของแม่น้ำโขง ส่งผลต่อการมีหรือไม่มีน้ำใช้ในประเทศแถบลุ่มน้ำโขงตอนล่างทั้งหมด หรือการทำให้น้ำเป็นพิษ เช่นโรงงานน้ำตาลปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ) การทำให้อากาศเสีย (เช่น การที่อุตสาหกรรมที่แม่เมาะปล่อยควันพิษจนทำให้ชาวบ้านมีปริมาณตะกั่วในปอด สะสมมากผิดปกติ) หรือการไม่ให้ยา (เช่น การขายยาด้วยราคาสูงเกินกว่าที่จะซื้อหามารักษา หรือการที่อเมริกาแซงก์ชั่นอิรักด้วยการไม่ให้ยาที่ส่งผลให้เด็กที่ป่วยใน อิรักล้มตายจำนวนมาก)

ปัญหาความรุนแรงกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนเราทุกวันนี้ โดยเฉพาะ สื่อได้เผยแพร่และชักนำพฤติกรรมความรุนแรงเข้ามาถึงในบ้านในห้องนอนของเราทุกคน จนเกือบจะเหมือนว่า ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติของชีวิตคนมากมายไม่สามารถแยกแยะ และตัดสินได้ว่าตัวเองกำลังเผชิญความรุนแรง หรือกำลังก้าวไปสู่การตกเป็นเหยื่อความรุนแรงหรือไม่
    
อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ หากทุกคนตระหนักว่า ความรุนแรง คือการกระทำใดๆ โดย กาย วาจา ใจและทางเพศ ที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง คู่กรณีและผู้คนในสังคมทางกาย วาจา ใจและทางเพศยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจน ข่าวการฆ่าตัวตายบนหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวนักเรียนเผาโรงเรียน หรือกลุ่มเสื้อแดงเผาทำลายทรัพย์สินตึกรามบ้านช่องศูนย์การค้ามากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของคนไทยทั้งประเทศ !
        
ความรุนแรงเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง เกิดขึ้นในบ้าน เราเรียกว่าความรุนแรงในครอบครัว หรือ Domestic Violence ซึ่งผู้ถูกกระทำความรุนแรง อาจเป็นเด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ฯลฯ อยู่ในบ้านในครอบครัว แต่ถูกคนในครอบครัว เช่น พ่อแม่ปู่ย่าตายายหรือญาติใกล้ทำร้ายทุบตีทารุณกรรมให้บาดเจ็บเกินกว่าเหตุ หรือถูกดุด่าเยาะเย้ย ว่ากล่าวด้วยถ้อยคำหยาบคาย ทำให้ได้รับความอับอายเสียใจทุกข์ทรมาณจิตใจ ตลอดจนเด็กหญิง
ผู้หญิงมากมายถูกคนในครอบครัวลวนลามทางเพศ จนถึงถูกข่มขืนรุมโทรม ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นในครอบครัว